9 เมษายน 2559

Happy life



เคล็ดลับที่ทำให้มีความสุข


ครอบครัว, เด็ก, ผู้หญิง, คน, มีความสุข“ฉันจะมีความสุขถ้าได้แต่งงานและมีลูก”
“ฉันจะมีความสุขถ้ามีบ้านสักหลัง”
“ฉันจะมีความสุขถ้าได้งานที่ชอบ”
“ฉันจะมีความสุขถ้า . . .”
คุณเคยรู้สึกอย่างนั้นไหม? พอคุณได้อย่างที่ต้องการแล้ว สิ่งเหล่านั้นทำให้คุณมีความสุขนานไหม? หรือไม่นานความสุขนั้นก็จางหายไป? การพยายามไปให้ถึงเป้าหมายหรือได้สิ่งของที่ต้องการทำให้มีความสุขได้จริงแต่ความสุขแบบนั้นก็อยู่ไม่นาน เช่นเดียวกับการมีสุขภาพดี ความสุขแท้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสำเร็จหรือสิ่งของที่ได้มาเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง
เราแต่ละคนไม่เหมือนกัน เราอาจมีความสุขกับสิ่งหนึ่ง แต่คนอื่นอาจมีความสุขกับอีกสิ่งหนึ่ง และเมื่อเวลาผ่านไปเราก็เปลี่ยนไปด้วย เห็นได้ชัดว่าคนเราจะมีความสุขแท้ได้ต้องมีปัจจัยอื่นด้วย เช่น รู้สึกพอใจในชีวิต ไม่อิจฉาริษยา รักคนอื่น พร้อมจะปรับเปลี่ยนและมีจิตใจที่เข้มแข็ง ให้เรามาดูว่าทำไมเรื่องเหล่านี้จึงสำคัญ

 1. พอใจในชีวิต

คนฉลาดคนหนึ่งที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ได้สังเกตว่า “เงินเป็นเครื่องป้องกัน” แต่ก็ยังเขียนด้วยว่า “คนรักเงินย่อมไม่อิ่มเงิน และคนรักสมบัติไม่รู้จักอิ่มกำไร นี่ก็อนิจจังด้วย เขาหมายความว่าอย่างไร? เงินเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน แต่สิ่งที่เราต้องระวังก็คือความโลภ เพราะความโลภทำให้คนเราไม่รู้จักพอ! ผู้เขียนคนนี้คือ โซโลมอนกษัตริย์ของชาติอิสราเอลโบราณ เขาได้ลองดูว่าความมั่งคั่งร่ำรวยและชีวิตที่หรูหราฟุ่มเฟือยจะทำให้มีความสุขจริง ๆ ไหม เขาเขียนว่า “ข้าพเจ้าไม่เคยปฏิเสธสิ่งใดที่ . . . ข้าพเจ้าปรารถนา มิได้ห้ามใจจากความยินดีใด 
โซโลมอนสะสมทรัพย์สมบัติไว้มากมาย เขาสร้างบ้านใหญ่โตหลายหลัง สร้างสวนและสระน้ำที่สวยงามหลายแห่ง และมีคนรับใช้มากมาย เขามีทุกอย่างที่ต้องการ แต่เขาได้เรียนรู้อะไรจากการลองใช้ชีวิตแบบนี้? เขามีความสุขอยู่บ้างแต่ก็ไม่นาน เขาบอกว่า “การทั้งหลายเป็นอนิจจังเหมือนวิ่งไล่ตามลม และมิได้มีผลประโยชน์อะไร” เขาถึงกับเกลียดชีวิตด้วยซ้ำ! โซโลมอนได้เรียนรู้ว่าการทำตามใจตัวเอง สุดท้ายก็เหลือแต่ความว่างเปล่าและไม่พอใจกับชีวิต *
ผลการวิจัยสมัยใหม่สอดคล้องกับสติปัญญาสมัยโบราณไหม? บทความหนึ่งที่ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Happiness Studies ให้ข้อสังเกตว่า “ถ้าคุณมีสิ่งจำเป็นในชีวิตแล้ว แม้จะมีเงินมากขึ้นก็ไม่ได้ทำให้คุณมีความสุขมากขึ้นไปด้วย” ที่จริง จากผลวิจัยพบว่า การมีวัตถุสิ่งของเพิ่มขึ้นโดยไม่สนใจว่าจะต้องเสียอะไรไปไม่ได้ทำให้คนเรามีความสุขจริง 

2. ไม่อิจฉาริษยา

ความอิจฉาริษยาคือ “ไม่พอใจหรือเจ็บใจที่เห็นคนอื่นได้ดีและอยากได้อยากมีอย่างเขาบ้าง” ความอิจฉาริษยาเป็นเหมือนเนื้อร้ายที่สามารถทำลายชีวิตและความสุขของคนเราได้ ความอิจฉาอาจเกิดขึ้นได้อย่างไร? เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเริ่มมีนิสัยแบบนี้? และเราจะเอาชนะนิสัยนี้ได้อย่างไร?
สารานุกรมเล่มหนึ่ง (Encyclopedia of Social Psychology ) ให้ข้อสังเกตว่า ผู้คนมักจะอิจฉาคนที่มีอะไร ๆ เท่าเทียมกับตัวเอง ไม่ว่าจะอายุ ประสบการณ์ หรือฐานะทางสังคม เช่น พนักงานขายอาจอิจฉาเพื่อนพนักงานขายที่ประสบความสำเร็จมากกว่าเขา แต่เขาอาจไม่อิจฉานักแสดงที่มีชื่อเสียง
ตัวอย่างเช่น ข้าราชการระดับสูงหลายคนในอาณาจักรเปอร์เซียโบราณไม่ได้อิจฉากษัตริย์ แต่อิจฉาริษยาดานิเอลซึ่งเป็นข้าราชการที่ฉลาดหลักแหลม พวกเขาคงไม่มีความสุขแน่ ๆ เห็นได้จากการที่พวกเขาวางแผนจะฆ่าดานิเอล แต่ก็ไม่ สำเร็จ สารานุกรมที่อ้างถึงก่อนหน้านี้บอกว่า “ควรจำไว้ว่าความอิจฉาริษยาทำให้คุณอยากทำร้ายคนอื่น เหตุการณ์ที่รุนแรงหลายครั้งในประวัติศาสตร์จึงมักเกี่ยวโยงกับความริษยา” *
ความอิจฉาริษยาสามารถทำให้คนเราหมดความยินดีและไม่เห็นค่าสิ่งดี ๆ ในชีวิต
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นคนขี้อิจฉา? ลองถามตัวเองว่า ‘ถ้าเห็นเพื่อนได้ดีฉันไม่มีความสุขไหม? ถ้าลูกพี่ลูกน้อง เพื่อนนักเรียนที่เก่ง ๆ หรือเพื่อนร่วมงาน ทำบางอย่างผิดพลาดล้มเหลว ฉันสะใจไหม?’ ถ้าคุณตอบว่า “ใช่” ก็แสดงว่าคุณเริ่มเป็นคนขี้อิจฉาแล้ว สารานุกรมยังบอกอีกว่า “ความอิจฉาริษยาสามารถทำให้คนเราหมดความยินดีและไม่เห็นค่าสิ่งดี ๆ ในชีวิต . . . นิสัยแบบนี้ทำให้ไม่ค่อยมีความสุข”
เราเอาชนะนิสัยขี้อิจฉาได้โดยพัฒนาความอ่อนน้อมถ่อมตนจากใจจริง คุณลักษณะนี้จะช่วยให้เรารู้สึกยินดีและเห็นคุณค่าความสามารถของคนอื่นรวมทั้งสิ่งดี ๆ ที่เขามี คัมภีร์ไบเบิลบอกว่า “ไม่ทำอะไรด้วยน้ำใจชิงดีชิงเด่นหรือด้วยความถือดี แต่ให้ถ่อมใจถือว่าคนอื่นดีกว่า

3. พัฒนาความรักต่อคนอื่น

หนังสือจิตวิทยาสังคม (ภาษาอังกฤษ) บอกว่า “การมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันทำให้ผู้คนมีความสุขในชีวิตมากกว่าการมีงาน มีรายได้ มีสังคม หรือแม้แต่มีสุขภาพที่ดีด้วยซ้ำ” พูดง่าย ๆ ก็คือ คนเราจะมีความสุขแท้ต้องมีทั้งให้และได้รับความรัก คัมภีร์ไบเบิลเขียนว่า “ถ้าข้าพเจ้า . . . ไม่มีความรัก ข้าพเจ้าก็ไม่มีค่าอะไรเลย
ไม่สายเกินไปที่จะพัฒนาความรัก เช่น ตัวอย่างของวาเนสซาที่เคยถูกพ่อขี้เมาทำร้ายร่างกาย เธอหนีออกจากบ้านตอนอายุ 14 ปี และไปอยู่สถานเลี้ยงเด็กกำพร้า เธอยังไปอยู่บ้านพักของคนจรจัดซึ่งเป็นที่ที่เลวร้ายจนเธอต้องอธิษฐานอ้อนวอนพระเจ้าให้ช่วย และพระองค์อาจฟังคำอธิษฐานของเธอเพราะมีครอบครัวหนึ่งรับเธอไปอยู่ด้วย พวกเขาทำตามคำแนะนำจากคัมภีร์ไบเบิลที่ว่า “ความรักอดกลั้นไว้นานและแสดงความกรุณา ทั้งสภาพแวดล้อมที่วาเนสซาอยู่บวกกับเรื่องที่เธอได้เรียนจากคัมภีร์ไบเบิลช่วยเยียวยาเธอให้มีอารมณ์และจิตใจที่เข้มแข็งขึ้น เธอบอกว่า “ที่โรงเรียนผลการเรียนของฉันดีขึ้นมาก”
ถึงแม้วาเนสซายังรู้สึกเจ็บปวดทางอารมณ์อยู่บ้าง แต่ตอนนี้เธอมีครอบครัวที่มีความสุขและมีลูกสาวสองคน

 4. มีจิตใจเข้มแข็ง

มีใครบ้างที่ไม่มีปัญหาในชีวิตเลย? คัมภีร์ไบเบิลบอกไว้ว่า มี “เวลาร้องไห้” และ “เวลาไว้ทุกข์ การมีจิตใจเข้มแข็งช่วยเราให้คิดบวกและก้าวเดินต่อไปแม้เจอปัญหา ให้เรามาดูตัวอย่างของป้าแครอลกับป้ามิลเดรด
ป้าแครอลเป็นโรคกระดูกสันหลังเสื่อม เบาหวาน หยุดหายใจขณะนอนหลับ และจอประสาทตาเสื่อมทำให้ตาข้างซ้ายบอด ถึงจะเป็นอย่างนั้นป้าบอกว่า “ฉันพยายามไม่ท้อใจนานเกินไป แม้ว่าบางครั้งฉันรู้สึกสงสารตัวเอง แต่แทนที่จะคิดอย่างนั้นฉันขอบคุณพระเจ้าที่ฉันยังทำอะไร ๆ ได้และทำเพื่อคนอื่นได้ด้วย”
ป้ามิลเดรดก็ป่วยหลายโรคด้วยทั้งโรคข้ออักเสบ มะเร็งเต้านม และเบาหวาน แต่ก็เหมือนกับป้าแครอล ป้ามิลเดรดพยายามไม่จมอยู่กับปัญหาของตัวเอง ป้าบอกว่า “ฉันเรียนรู้ที่จะรักผู้คนและให้กำลังใจคนอื่นช่วงที่พวกเขาป่วย การทำอย่างนั้นช่วยฉันด้วยเหมือนกัน ที่จริง เมื่อฉันให้กำลังใจคนอื่น ฉันก็ลืมเรื่องของตัวเอง
ถึงแม้ป้าสองคนนี้อยากได้รับการรักษาที่ดี แต่ก็ไม่ได้หมกมุ่นกับปัญหาสุขภาพของตัวเองเท่านั้น พวกเธอสนใจวิธีคิดและวิธีใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ผลก็คือ ทั้งสองมีความสุขในใจที่ไม่มีใครแย่งไปได้ แถมยังเป็นที่รักของคนอื่นและเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนที่เจอปัญหาหรือการทดสอบหลายอย่างในชีวิต









0 ความคิดเห็น: